“พรรณไม้พระนาม” คือ พรรณไม้ที่นักพฤกษศาสตร์ ค้นพบและวิจัยแล้วว่า เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก จึงต้องตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระนามมาเพื่อตั้งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์
"ภูมิพลินทร์"
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Paraboea bhumiboliana Triboun & Chuchan
วงศ์: Gesneriaceae
วงศ์: Gesneriaceae
ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กไม่มาก สูงประมาณ 20-60 เซนติเมตร เมื่ออายุมากขึ้นมีเนื้อไม้จะแข็ง ยืนต้นสีน้ำตาล อาจแตกเป็นร่องตามแนวยาว เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับกัน รูปวงรี หรือ รูปไข่ กว้างประมาณ 1.5-2.2 ซม. ยาวประมาณ 2.5-6 ซม. ปลายใบโค้งมน ขอบใบหยักตื้น ใต้ใบปกคลุมด้วยกลุ่มขนสีขาว ก้านใบยาว 3-4 มิลลิเมตร ออกดอกเป็นช่อกระจุกสั้น ออกชื่อดอกที่ยอดหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก แฉกคล้ายกับรูประฆัง มีสีชมพู หรือ สีม่วงอ่อน ผลแห้งแตก เมื่อแก่บิดเป็นเกลียว ภายในจะมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก
เป็นพืชท้องถิ่นของไทยสำรวจพบที่บริเวณแก่งหินปูน เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดลำพูน ค้นพบโดย ดร.ปราโมทย์ ไตรบุญ เป็นผู้ทูลขอพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นำมาตั้งเป็นคำระบุชนิด เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
"ทิวลิปคิงภูมิพล"
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Tulipa ‘King Bhumibol’
วงศ์: Liliaceae
วงศ์: Liliaceae
ลักษณะ: ไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ต้นสูงราวๆ 45 ซม. ใบเลี้ยงเดี่ยว ใบยาวเรียวปลายแหลม สีเขียวอ่อนอมเทา ซึ่งแต่ละต้นมีประมาณ 2-4 ใบ กลีบดอกสีเหลืองทอง เกสรเพศเมียมีลักษณะเป็นแท่งรูปสามเหลี่ยม ล้อมรอบด้วยเกสรเพศผู้สีเหลือง
ฤดูผลิดอก : ประมาณ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม
การปลูก : ต้นนี้ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดี โดนแสงแดดตลอดวัน ชอบอากาศหนาวเย็น ขยายพันธ์ุด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นิยมใช้เป็นไม้ประดับและไม้ตัดดอก เหมาะสำหรับเพราะปลูกเพิ่มความสวยงาม รอบๆคอนโดหรู อย่าง The Diplomat สาทร
เป็นลูกผสมระหว่างพันธ์ุ Judith Leyster กับพันธุ์ Prince Claus โดย Klaas Koedijk เจ้าของบริษัท F.A.P. Koedijk & ZN ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้ทูลขอพระราชทานพระนามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาจดทะเบียนตั้งเป็นชื่อพันธ์ุไม้ชนิดนี้ ด้วยความซาบซึ้งในความจงรักภักดีที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาศที่ทรงครองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2549
"มะลิเฉลิมนรินทร์"
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Jasminum bhumibolianum Chalermglin
วงศ์: Oleaceae
วงศ์: Oleaceae
ลักษณะ: เป็นไม้เถา เลื้อยได้ไกลถึง 1-2 เมตร เนื้อแข็ง ยอดอ่อนมีขน ใบเลี้ยงเดี่ยวค่อนข้างหนา รูปวงรี กว้าง 3-3.5 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งมนกลม แผ่นใบเรียบเหนียวเป็นมัน ไม่มีต่อมใต้ใบ ก้านใบยาว 4-5 มม. ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อยๆ 7-13 ดอก ริ้วประดับรูปแถบยาว 5-6 มม. ก้านดอกยาว 2-3 มม. แฉกกลีบเลี้ยงสั้นมี 4-5 กลีบ กลีบดอกยาว 12-15 มม. ปลายสีเหลืองนวล แยกเป็น 7 กลีบ กลีบกว้าง 3-4 มม. กลิ่นหอมแรง ผลรูปทรงรี
ฤดูผลิดอก: ประมาณกรกฎาคม – กันยายน
การปลูก: ปลูกเป็นไม้กระถางหรือจะลงแปลงปลูกกลางแจ้งให้เลื้อยไต่เป็นซุ้มก็ได้ ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แต่โตช้า ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และ ปักชำกิ่ง
มะลิท้องถิ่นของไทยชนิดใหม่ล่าสุด สำรวจพบโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น บนเขาหินปูนที่มีความสูง 715 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลภายในจังหวัดเลย เมื่อปี พ.ศ. 2552 และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขอประทานใช้ชื่อนี้ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ เมื่อปี พ.ศ. 2554
ขอบคุณข้อมูล : บ้านและสวน
ขอบคุณข้อมูล : บ้านและสวน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น